4 ม.ค. 2564

หลักปฏิบัติสำหรับการจัดการสารก่อภูมิแพ้สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร ตามมาตรฐานใหม่ CODEX

หลักปฏิบัติสำหรับการจัดการสารก่อภูมิแพ้สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร ตามมาตรฐานใหม่ Codex
 
คุณเจนนี่ สก็อต (Jenny Scott) ที่ปรึกษาอาวุโสของ CFSAN, USFA (The Center for Food Safety and Applied Nutrition of the U.S. Food and Drug Administration)  ได้อธิบายถึงความสำคัญในการจัดการสารก่อภูมิแพ้ว่าปัญหาเกี่ยวกับสารก่อภูมิแพ้มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั่วโลกและยังเป็นปัญหาประมาณ 1 ใน 3 ของการเรียกคืนสินค้าในประเทศสหรัฐอเมริกา
(อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.fao.org/fao-who-codexalimentarius/news-and-events/news-details/en/c/1246172/ )
 
จากการประชุมคณะกรรมาธิการโคเด็กซ์ ครั้งที่ 43 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (The virtual meeting of 43th Codex Alimentarius Commission) ระหว่างวันที่ 24 – 26 กันยายน, วันที่ 12, 19 ตุลาคม 2563 และวันที่ 5 – 6 พฤศจิกายน 2563 มีประเด็นเกี่ยวกับการยกระดับการจัดการความปลอดภัยด้านอาหารที่ผู้ประกอบการในห่วงโซ่การผลิตอาหาร ซึ่งได้แก่ ผู้ผลิตขั้นต้น โรงงานแปรรูป ร้านค้าปลีกและร้านอาหาร จะต้องเตรียมพร้อมรับมือ นั่นคือ การที่ CODEX เตรียมประกาศมาตรฐานใหม่ เรื่อง "หลักปฏิบัติสำหรับการจัดการสารก่อภูมิแพ้สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร" เบื้องต้นอาจเริ่มประกาศใช้ประมาณปลายปี 2563 หลังจากร่างมาตรฐานใหม่นี้ถูกเสนอให้มีการจัดทำมาตั้งแต่ปี 2560 โดยสารก่อภูมิแพ้ที่ CODEX ระบุไว้มี 8 กลุ่ม
 

สารก่อภูมิแพ้ที่ CODEX ระบุไว้มี 8 กลุ่ม
ธัญพืชที่มีกลูเตน นม ผลิตภัณฑ์นม เมล็ดถั่ว (Tree Nuts) ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่มีเปลือกแข็ง (เช่น กุ้ง ปู)
ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ไข่ ถึงซัลเฟอร์ที่มีความเข้มข้นมากกว่า 10 มก./กก.

 
มาตรฐานใหม่นี้ มีความแตกต่างจากข้อกำหนดที่เคยมีอยู่ในระบบ GMP/HACCP คือ จากเดิมอันตรายที่กำหนดไว้ มีระบุเพียงอันตรายทางกายภาพ เคมีและจุลินทรีย์ แต่มาตรฐานใหม่ของ CODEX จะเพิ่มสารก่อภูมิแพ้และกำหนดวิธีการควบคุมสารก่อภูมิแพ้ อาทิ การพิจารณาสารก่อภูมิแพ้ในทุกกิจกรรม การกำหนดวิธีการทำความสะอาดเครื่องมือเครื่องจักร การอบรมพนักงาน ตลอดจนพิจารณากฎหมายของแต่ละประเทศและกลุ่มประชากรที่แพ้สารก่อภูมิแพ้ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้การจัดการสารก่อภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นจากการผลิตอาหารมีประสิทธิภาพมากขึ้นและครอบคลุมทั้งห่วงโซ่การผลิตอาหาร
 
ในทางปฏิบัติ มาตรฐาน CODEX เป็นเกณฑ์สากลที่ทุกประเทศจะนำมาใช้ และแม้จะไม่ได้เป็นข้อบังคับทางกฎหมาย แต่หากเกิดกรณีพิพาททางการค้าระหว่างประเทศ มาตรฐาน CODEX ก็จะถูกหยิบยกมาเป็นเกณฑ์ในการระงับข้อพิพาท นั่นหมายความว่า ผู้ประกอบการในห่วงโซ่การผลิตอาหารจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิบัติให้ได้ตามเกณฑ์
 
ทั้งนี้ สถิติการเรียกคืนผลิตภัณฑ์อาหารของประเทศต่างๆ ปี 2562  (อาทิ สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศอื่นๆ) พบว่า สาเหตุที่มีการเรียกคืนผลิตภัณฑ์อาหารมากที่สุด คือ อันตรายจากฉลากไม่ถูกต้อง (คิดเป็นสัดส่วนราว 49% ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมด) ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการไม่แสดงสารก่อภูมิแพ้บนฉลาก สำหรับไทยมีการถูกเรียกคืนสินค้า 6 รายการ 1 ในนั้นคือการพบสารก่อภูมิแพ้ในผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป โดยผลกระทบทางธุรกิจที่จะเกิดตามมาคือ อาจทำให้ผลิตภัณฑ์นั้นถูกดำเนินการจากกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศผู้นำเข้า เช่น นำสินค้าออกจากตลาด ตรวจสอบข้อเท็จจริง ทำลายหรือส่งกลับประเทศต้นทาง ฯลฯ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจได้

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ที่มา : สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย (https://www.foodsafety.moph.go.th/th/statistics-detail.php?id=1360&pcid=386&pcpage=1&group=1-023-010 )
 

 
อ่านเพิ่มเติม :
https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Codex-FB-130820.aspx
http://www.fao.org/fao-who-codexalimentarius/news-and-events/news-details/en/c/1246172/
 
 
บริษัท รับตรวจสินค้าโพ้นทะเล จำกัด (OMIC) ให้บริการการตรวจวิเคราะห์สารก่อภูมิแพ้ในอาหาร (Food Allergen) สามารถตรวจสอบขอบข่ายวิธีทดสอบที่ได้รับการขึ้นทะเบียนได้ที่ http://omicbangkok.com/en/accreditation-certification-and-registration
 

Food Allergen detection services
Food, Feed and Raw material
ELISA Technique      
Test Item      
Buckwheat Gluten Peanut Milk
Crustacean Histamine Wheat Egg
       
PCR Technique      
Test Item      
Buckwheat Soybean Wheat Peanut

 
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :

บริษัท รับตรวจสินค้าโพ้นทะเล จำกัด (โอมิค) [Overseas Merchandise Inspection Co., Ltd (OMIC)]
[แผนกห้องปฏิบัติการ (Laboratory Department)]:
เลขที่ 12 – 14 ซอยเย็นอากาศ 3 ถนนเย็นอากาศ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กทม 10120
No. 12-14 Yen Akas Soi 3, Chongnonsri, Yannawa, Bangkok 10120 THAILAND
http://omicbangkok.com http://www.omicfoodsafety.com
: 02-286-4120 : 02-287-5106
: 098-827-2134, 092-424-5458
081-927-6321
: labmk.th@omicnet.com 
labmk2.th@omicnet.com
labmk3.th@omicnet.com

 
  

Designed by Photoroyalty / Freepik
X
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้และวิเคราะห์ประสิทธิภาพและปริมาณการใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา เรายังแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ไซต์ของเรากับโซเชียลมีเดีย การโฆษณา และพันธมิตรด้านการวิเคราะห์ของเรา