2 Sep 2021

ปรับปรุงประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 426 พ.ศ. 2564 เรื่อง ชาจากพืช

อย. เห็นสมควรให้มีการปรับปรุงประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยชาสมุนไพร เพื่อมิให้ ทับซ้อนกับผลิตภัณฑ์สุขภาพตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร และทำให้การคุ้มครองผู้บริโภค เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งในปัจจุบันมีประกาศฯ ที่เกี่ยวข้อง จํานวน 2 ฉบับ ได้แก่

  1. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 280) พ.ศ. 2547 เรื่อง ชาสมุนไพร (15 รายการ)
  2. ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง กําหนดรายชื่อพืชหรือ ส่วนของพืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบสําหรับชาสมุนไพร (3 รายการ)

โดยมีสาระสำคัญที่แก้ไขดังนี้

  1. ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 280) พ.ศ. 2547 เรื่อง ชาสมุนไพร ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2547
  2. แก้ไขชื่อประกาศกระทรวงฯ และนิยามเป็น “ชาจากพืช” เพื่อความชัดเจนสอดคล้องและครอบคลุมกับวิธีการผลิต

โดยให้นิยามใหม่ “ชาจากพืช” หมายความว่า ผลติภัณฑ์ที่ได้จากส่วนต่างๆ ของพืช ที่ผ่านกระบวนการทำให้แห้ง อาจผ่านการบดหยาบหรือลดขนาด โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปบริโภคโดยการต้มหรือชงกับน้ำ

  1. “ชาจากพืช” ให้เป็นไปตามที่กำหนดในบัญชีรายชื่อพืชและส่วนของพืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับชาจากพืชตามท้ายประกาศ และรายชื่อเพิ่มเติมตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
  2. ปรับปรุงกำหนดบางส่วนเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง
4.1 มีความชื้นได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของน้ำหนัก
4.2 จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยกำหนดคุณภาพ หรือมาตรฐาน หลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการในการตรวจวิเคราะห์ ของอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค เช่น Salmonella spp. (ไม่พบใน 25 g.) และ Staphylococcus aureus (ไม่เกิน 100 ใน 1 g)
4.3 ตรวจพบสารปนเปื้อนไม่เกินปริมาณสูงสุดที่กำหนดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยมาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน เช่น ดีบุก (Tin: Sn) ตะกั่ว (Lead: Pb) ปรอท (Mercury: Hg) สารหนู (Arsenic: As) แคดเมียม (Cadmium: Cd) แอลฟาทอกซิน (Aflatoxin) เป็นต้น
4.4 สารพิษตกค้าง ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาหารที่มีสารพิษตกค้าง
4.5 ไม่มียาแผนปัจจุบันหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นแล้วแต่กรณี
4.6 การใช้วัตถุเจือปนอาหาร ให้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยวัตถุเจือปนอาหาร
4.7 ไม่มีการปรุงแต่งกลิ่น รส ด้วยวัตถุอื่น นอกจากพืชที่ระบุในบัญชีรายชื่อพืชและส่วนของพืช ที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับชาจากพืชท้ายประกาศนี้ หรือใบ ยอด และก้านที่ยังอ่อนอยู่ของต้นชาในสกุล Camellia
 

ที่มา ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 426 พ.ศ. 2564  เรื่อง ชาของพืช และเอกสารนำเสนอ จัดทำโดยกลุ่มกำหนดมาตรฐานกองอาหาร สำนักกรรมการอาหารและยา
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก

ห้องปฏิบัติการ OMIC เป็นห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025: 2017 ให้บริการงานวิเคราะห์หลายรายการ เช่น ตรวจวิเคราะห์เชื้อจุลินทรีย์  สารปนเปื้อน โลหะหนัก สารพิษตกค้าง  และข้อมูลโภชนาการ เป็นต้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางเรามีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์สารพิษตกค้าง ยาฆ่าแมลง และได้รับความเชื่อทางจากทางหน่วยงานราชการและบริษัทชั้นนำในการส่งตัวอย่างวิเคราะห์ ท่านสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ท่านสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :

บริษัท รับตรวจสินค้าโพ้นทะเล จำกัด (โอมิค) [Overseas Merchandise Inspection Co., Ltd (OMIC)]
[แผนกห้องปฏิบัติการ (Laboratory Department)]:
เลขที่ 12 – 14 ซอยเย็นอากาศ 3 ถนนเย็นอากาศ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กทม 10120
No. 12-14 Yen Akas Soi 3, Chongnonsri, Yannawa, Bangkok 10120 THAILAND
http://omicbangkok.com http://www.omicfoodsafety.com
: 02-286-4120 : 02-287-5106  
: 098-827-2134,
092-424-5458
081-927-6321
: labmk.th@omicnet.com labmk2.th@omicnet.com
labmk3.th@omicnet.com
 

 

Designed by Photoroyalty / Freepik