2 Sep 2021

ปรับปรุงประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 426 พ.ศ. 2564 เรื่อง ชาจากพืช

อย. เห็นสมควรให้มีการปรับปรุงประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยชาสมุนไพร เพื่อมิให้ ทับซ้อนกับผลิตภัณฑ์สุขภาพตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร และทำให้การคุ้มครองผู้บริโภค เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งในปัจจุบันมีประกาศฯ ที่เกี่ยวข้อง จํานวน 2 ฉบับ ได้แก่

  1. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 280) พ.ศ. 2547 เรื่อง ชาสมุนไพร (15 รายการ)
  2. ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง กําหนดรายชื่อพืชหรือ ส่วนของพืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบสําหรับชาสมุนไพร (3 รายการ)

โดยมีสาระสำคัญที่แก้ไขดังนี้

  1. ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 280) พ.ศ. 2547 เรื่อง ชาสมุนไพร ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2547
  2. แก้ไขชื่อประกาศกระทรวงฯ และนิยามเป็น “ชาจากพืช” เพื่อความชัดเจนสอดคล้องและครอบคลุมกับวิธีการผลิต

โดยให้นิยามใหม่ “ชาจากพืช” หมายความว่า ผลติภัณฑ์ที่ได้จากส่วนต่างๆ ของพืช ที่ผ่านกระบวนการทำให้แห้ง อาจผ่านการบดหยาบหรือลดขนาด โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปบริโภคโดยการต้มหรือชงกับน้ำ

  1. “ชาจากพืช” ให้เป็นไปตามที่กำหนดในบัญชีรายชื่อพืชและส่วนของพืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับชาจากพืชตามท้ายประกาศ และรายชื่อเพิ่มเติมตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
  2. ปรับปรุงกำหนดบางส่วนเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง
4.1 มีความชื้นได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของน้ำหนัก
4.2 จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยกำหนดคุณภาพ หรือมาตรฐาน หลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการในการตรวจวิเคราะห์ ของอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค เช่น Salmonella spp. (ไม่พบใน 25 g.) และ Staphylococcus aureus (ไม่เกิน 100 ใน 1 g)
4.3 ตรวจพบสารปนเปื้อนไม่เกินปริมาณสูงสุดที่กำหนดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยมาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน เช่น ดีบุก (Tin: Sn) ตะกั่ว (Lead: Pb) ปรอท (Mercury: Hg) สารหนู (Arsenic: As) แคดเมียม (Cadmium: Cd) แอลฟาทอกซิน (Aflatoxin) เป็นต้น
4.4 สารพิษตกค้าง ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาหารที่มีสารพิษตกค้าง
4.5 ไม่มียาแผนปัจจุบันหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นแล้วแต่กรณี
4.6 การใช้วัตถุเจือปนอาหาร ให้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยวัตถุเจือปนอาหาร
4.7 ไม่มีการปรุงแต่งกลิ่น รส ด้วยวัตถุอื่น นอกจากพืชที่ระบุในบัญชีรายชื่อพืชและส่วนของพืช ที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับชาจากพืชท้ายประกาศนี้ หรือใบ ยอด และก้านที่ยังอ่อนอยู่ของต้นชาในสกุล Camellia
 

ที่มา ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 426 พ.ศ. 2564  เรื่อง ชาของพืช และเอกสารนำเสนอ จัดทำโดยกลุ่มกำหนดมาตรฐานกองอาหาร สำนักกรรมการอาหารและยา
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก

ห้องปฏิบัติการ OMIC เป็นห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025: 2017 ให้บริการงานวิเคราะห์หลายรายการ เช่น ตรวจวิเคราะห์เชื้อจุลินทรีย์  สารปนเปื้อน โลหะหนัก สารพิษตกค้าง  และข้อมูลโภชนาการ เป็นต้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางเรามีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์สารพิษตกค้าง ยาฆ่าแมลง และได้รับความเชื่อทางจากทางหน่วยงานราชการและบริษัทชั้นนำในการส่งตัวอย่างวิเคราะห์ ท่านสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ท่านสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :

บริษัท รับตรวจสินค้าโพ้นทะเล จำกัด (โอมิค) [Overseas Merchandise Inspection Co., Ltd (OMIC)]
[แผนกห้องปฏิบัติการ (Laboratory Department)]:
เลขที่ 12 – 14 ซอยเย็นอากาศ 3 ถนนเย็นอากาศ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กทม 10120
No. 12-14 Yen Akas Soi 3, Chongnonsri, Yannawa, Bangkok 10120 THAILAND
http://omicbangkok.com http://www.omicfoodsafety.com
: 02-286-4120 : 02-287-5106  
: 098-827-2134,
092-424-5458
081-927-6321
: labmk.th@omicnet.com labmk2.th@omicnet.com
labmk3.th@omicnet.com
 

 

Designed by Photoroyalty / Freepik
X
Personal Data Protection Policy

This website use cookies to enhance user experience and analyz performance and traffic on our website. we also share information about your use of our site with our social media, advertising and analytics partner.